วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน
ประกวดเด็กและเยาวชนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรมและประกวดเรียงความ


 
      

หลักการและเหตุผล                    
ตามที่มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัวในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ถวายเป็นพระราชกุศลแด่  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ   ธันวาคม  ๒๕๕๔  เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักคุณธรรม  สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตตลอดจนเพิ่มศักยภาพทางด้านจิตใจและปลูกฝังให้เป็นพลเมืองดีของชาติ นั้น

     ในการนี้กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน ประกวดเด็กและเยาวชนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรมและประกวดเรียงความ   ดังนั้นสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กและเยาวชน   จึงได้กำหนดแผนการจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนประกวดเด็กและเยาวชนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรมและประกวดเรียงความขึ้น


วัตถุประสงค์
  ๑.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้หลักคุณธรรม จริยธรรม โดยน้อมนำพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามหลักทศพิธราชธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอและพระราชกรณียกิจในโครงการต่าง ๆ ตามพระราชดำริ เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
  ๒.ประกวดเรียงความเรื่องทศพิธราชธรรมน้อมนำสู่การปฏิบัติของเด็กและเยาวชนในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
  ๓.เผยแพร่พระราชกรณียกิจและโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
  ๑. เสนอโครงการ
  ๒. แต่งตั้งคณะทำงาน และกำหนดแผนงานการดำเนินกิจกรรม 
        -คณะกรรมการคัดเลือกเด็กและเยาวชนต้นแบบคุณธรรม จริยธรรม                   
        -คณะกรรมการคัดเลือกเรียงความ    
  ๓. ติดต่อวิทยากรให้ความรู้/จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการพระราชประวัติ  พระราชกรณียกิจของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. และให้ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความให้เด็กและและเยาวชน
            ๔. ดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแผน
 ๕. สรุปผลการดำเนินโครงการทุกเดือนเพื่อรายงานกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  
 
ระยะเวลาในการดำเนินการ
            ตั้งแต่เดือนสิงหาคม  ถึง  เดือนธันวาคม ๒๕๕๔


ผู้ประสานโครงการ             
           นางกัญญา วรรณศรี          นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
           นางสาวนันทนา  พรมฮุย    เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

 


วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรมศาสนาร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจัดอบรม "ค่ายเยาวชนพินิจอาสา พัฒนาคุณธรรม สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยอย่างยั่งยืน"
          กรมศาสนาร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจัดอบรม "ค่ายเยาวชนพินิจอาสา พัฒนาคุณธรรม สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยอย่างยั่งยืน" ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและจิตใจของเด็กและเยาวชนให้เข้าถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีจิตสำนึกในการดำรงตนอย่างมีสติ คุณธรรม จริยธรรม เข้าใจตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจด้วยหลักธรรม สามารถกลับตัวเป็นคนดีสู่สังคมได้อย่างปกติสุข
           การจัดกิจกรรมครั้งนี้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมนันทนาการ การเข้าถึงหลักธรรม และการปฏิบัติธรรมซึ่งจะช่วยให้เกิดความสุข สดชื่น สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนได้ตามวัตถุประสงค์

         พระอาจาย์โดมชัย อุตฺตมชโย พระธรรมวิทยากร วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม บรรยายให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน



รับบิณฑบาตจากเจ้าหน้าที่เด็กและเยาวชนในตอนเช้า


คณะครูสมาธิ รุ่นที่ 25,26,27 จากสถาบันพลังจิตตานุภาพ ศูนย์พระยาวิสูตรโกษาจังหวัดจันทบุรี ให้เกียรติเข้าร่วมโครงการฯ และได้นำเครื่องดื่ม อาหาร มาเลี้ยงเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม 2554


ผู้อำนวยการสถานพินิจนายปัญญา จันทร์ละออ ถวายเกียรติบัตรแด่ท่านพระอาจาย์


วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จริยธรรมขั้นวิกฤติของเยาวชนไทย

จริยธรรมขั้นวิกฤติของเยาวชนไทย
               
                 งานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุว่า จากการสำรวจพฤติกรรมรุนแรงของเยาวชนในประเทศต่างๆทั่วโลก พบว่ามีพฤติกรรมรคล้ายๆ กัน คือ การก่ออาชญากรรม การเสพและค้ายาเสพติด แก๊งกวนเมือง เป็นต้น  นอกจากนี้ งานวิจัยหลายชิ้นยังระบุว่า  เด็กไทยนิยมมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุ 9-10 ปีขึ้นไป เริ่มนิยมมีเซ็กซ์ไม่เลือกสถานที่ เช่น มุมอับของห้างสรรพสินค้า  สวนสาธารณะ แม้กระทั่งบนรถเมล์  ซึ่ง งานวิจัยของ ดร.อมรวิชช์  นาครทรรพ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปที่มาของปัญหาต่างๆ ของเยาวชนว่ามาจาก การห่างบ้าน ห่างวัด โตในห้าง แพ้ไม่เป็น อิทธิพลสื่อรุนแรง ระบบการศึกษาเน้นการแข่งขัน  สร้างคนป้อนตลาดงานมากกว่าสร้างคนให้เข้าใจชีวิต
                ทางแก้ปัญหาที่ต้นตอ จึงต้องเพิ่มจากการสร้างจริยธรรม ที่เข้มแข็ง แต่เรามักจะเห็นว่า จริยธรรมเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องไม่ได้  จึงไม่จริงจังกับการปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนกันมากนัก  ซึ่งจริยธรรมในที่นี้ คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ชีวิตที่มีการพัฒนาแบบองค์รวมครบทุกมิติตามหลัก ไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ และปัญญา
                การปลูกฝังจริยธรรม แบบองค์รวม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย  ครอบครัวต้องสอนและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ รู้จักใช้วัตถุ  เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสื่อต่างๆ ในทางแสวงหาความรู้มากกว่าเพื่อการบันเทิงหรือหมกมุ่น  สื่อมวลชนต้องกระตุ้นและท้าทายปัญญามากขึ้น องค์กรศาสนาต้องสอนแก่นแท้ของศาสนา และประยุกต์ให้ตอบสนองปัญหาชีวิตและสังคมร่วมสมัย
                ถ้าทุกภาคส่วนของสังคมสนใจปัญหาทางจริยธรรมอย่างลึกซึ้ง และร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง อาการป่วยทางจริยธรรมของเยาวชนและสังคมโดยรวมก็จะมีทางแก้ไขได้


Jingle Outtro
ครอบครัวสุขสันต์  สัมพันธ์ใกล้ชิด ลดการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
วันนี้ คุณกอดลูกแล้วหรือยังคะ
 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  กระทรวงยุติธรรม